บริษัท โกลจีพีเอส จำกัด ผู้ผลิตผู้ผลิตและจำหน่าย Hardware&Software GPS Tracking 3G goalgpsthailand@gmail.com

ความรู้ระบบติดตามรถยนต์ ด้วยจีพีเอส GPS

ความหมายของ GPS
รู้จัก NAVSTAR  GPS
ขอบข่ายทางทฤษฎี จีพีเอส
ประวัติและพัฒนาการของดาวเทียม จีพีเอส
คุณลักษณะของดาวเทียม จีพีเอส
องค์ประกอบของระบบดาวเทียม จีพีเอส
ส่วนประกอบของเครื่องรับสัญญาญาณดาวเทียม จีพีเอส
ประเภทเครื่องรับสัญญาณ จีพีเอส
หลักการทำงานของ จีพีเอส
ข้อดี จีพีเอส
ข้อเสีย จีพีเอส
ประโยชน์ จีพีเอส
สัญชาตฺิดาวเทียม
เครื่องรับสัญญาณ
ความแม่นยำของ
การประยุกต์ใช้งาน จีพีเอส เชิงสร้างสรรค์
GPS Tracking คืออะไร
Program GPS Tracking
ประโยชน์ GPS Tracking System  GPS Tracking ติดตามรถ
การทำงานของ Program GPS Tracking 
ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Goal GPS Tracking
ผลิตภัณฑ์แนะนำจาก Goal GPS Tracking

ความหมายของ GPS
 

GPS  หรือ  GLOBAL  POSITIONING  SYSTEM  ชื่อภาษาไทยบัญญัติโดยคณะกรรมการบัญญัติศัพท์เทคโนโลยีสารสนเทศ  ราชบัณฑิตยสถาน เมื่อเดือน พฤษภาคม  2541  ไว้ว่า   “ระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก”  ชื่อเต็มของระบบนี้คือ  NAVSTAR  GLOBAL  POSITIONING  SYSTEM
รู้จัก NAVSTAR GPSNAVSTAR  เป็นอักษรย่อมาจาก  NAVIGATION  SATELLITE  TIMING  AND  RANGING  คำว่าดาวเทียมสำหรับนำร่องคือระบบที่ระบุตำแหน่งทุกแห่งบนโลก  จากกลุ่มดาวเทียม 24 ดวง ที่โคจรอยู่รอบโลก  ในระดับสูงที่พ้นจากคลื่นวิทยุรบกวนของโลก
ขอบข่ายทางทฤษฎี จีพีเอส GPS
วิธีการที่สามารถให้ความถูกต้องเพียงพอที่จะใช้ชี้บอกตำแหน่งได้ทุกแห่งบนโลกตลอดเวลา  24  ชั่วโมง  จากการนำมาใช้งานจริงจะให้ความถูกต้องสูง  โดยที่ความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของตำแหน่งทางราบต่ำกว่า  50  เมตร  และถ้าเป็นแบบวิธี  “อนุพันธ์”
(DIFFERENTIAL)  จะให้ความถูกต้องถึงระดับเซนติเมตรจากการพัฒนาทางด้านอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ทำให้สามารถผลิตเครื่องรับ  GPSที่มีขนาดลดลง และมีราคาถูกลงกว่าเครื่องรับระบบ  TRANSIT  เดิมเป็นอันมาก

ประวัติและพัฒนาการของดาวเทียม  GPS

        ในศตวรรษที่  20  ในการพัฒนาเครื่องส่งวิทยุทำให้เครื่องช่วยการเดินทางได้พัฒนาไป  อีกขั้นเรียกว่า  RADIO  BEACONS  รวมทั้ง  LORAN  และ  OMEGA  ในที่สุดเทคโนโลยีของดาวเทียมทำให้เครื่องช่วยการเดินทางและการหาตำแหน่งจะพิจารณาจากเส้นที่สัญญาณเดินทางผ่านด้วยการวัดของ  DOPPLER  ที่เคลื่อนที่ไป  ซึ่งมีระบบ  TRANSIT  เป็นระบบเครื่องช่วยการเดินเรือโดยอาศัยดาวเทียม  ได้รับการคิดค้นสำเร็จในปี  ค.ศ.1950  และใช้งานอยู่  33ปี  จึงได้ปลดประจำการไป  ระบบ  TRANSIT  ได้พัฒนามาให้ข้อมูลการหาตำแหน่งที่แน่นอนให้กับเรือดำน้ำ  POLARIS  ที่มีจรวดนำวิถี  หลักการคือ  การคาดการณ์โดยใช้ความถี่  DOPPLER  ที่เปลี่ยนแปลงตำแหน่งไปจากดาวเทียม  SPUTNIK  ส่งโดยสหภาพโซเวียตในเดือนตุลาคม  1957  สัญญาณเปลี่ยนของ  DOPPLER  สามารถพิจารณาการโคจรของดาวเทียมใช้ข้อมูลที่จดเอาไว้ที่สถานีหนึ่งเมื่อดาวเทียมโคจรผ่านไป  ระบบ  TRANSIT  ประกอบด้วย  ดาวเทียม  6  ดวงที่เกือบเป็นวงกลม  การโคจรผ่านขั้วโลกที่ความสูง  1,075  กิโลเมตร  ระยะเวลาของการหมุน  107  นาที  การโคจรของดาวเทียม TRANSIT  จะแน่นอนกว่าโดยการติดตามจากสถานีพื้นโลกที่กำหนดไว้  ด้วยสภาพที่น่าพอใจความเร็วที่แน่นอนเป็น  35  ถึง  100  เมตร  รอบต่อนาที  ปัญหาของ  TRANSIT  คือการครอบคลุมพื้นที่มีช่องว่างระหว่างกันมาก  ผู้ใช้ต้องคำนวณโดยการ  INTERPOLATE  ตำแหน่งของตนเองระหว่างที่ดาวเทียมโคจรผ่านไป
ความสำเร็จของ  TRANSIT  เป็นการกระตุ้นให้ทั้งกองทัพเรือและกองทัพอากาศของสหรัฐฯ พิจารณาระบบช่วยการเดินทางที่ก้าวหน้ากว่าเดิมและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น  ทางกระทรวงกลาโหมของสหรัฐฯ  ได้ผลิตระบบการหาตำแหน่ง  NAVSTAR  ทั่วโลก  ซึ่งจะเอาไว้ในการระบุตำแหน่งการนำวิถีของจรวดทั้งทางบกและทางอากาศและยังสามารถบอกได้ว่ากองกำลังทหารอยู่  ณ  ที่ใดของสนามรบและนั่นก็เป็นจุดเริ่มต้นของการผลิตคิดค้นระบบวิธีการระบุตำแหน่งบนพื้นโลก  ซึ่งระบบ GPS  จะขัดแย้งกับ  TRANSIT  คือระบบ  GPS  ให้สัญญาณครอบคลุมพื้นที่ต่อเนื่องและให้ความถูกต้องและแม่นยำกว่าระบบเดิม  ซึ่งได้ผลิตให้ดาวเทียมมีความทันสมัย  ( MODERNIZATION)  และเหมาะสมในการนำไปใช้งานต่างๆจนถึงปัจจุบันดาวเทียม  GPS  ได้ถูกสร้างขึ้นมาแล้วถึง 4 รุ่น คือ
รุ่นที่ 1 เรียกว่า BLOCK I
รุ่นที่ 2 เรียกว่า BLOCK II/IIA
รุ่นที่ 3 เรียกว่า BLOCK IIR
รุ่นที่ 4 เรียกว่า BLOCK IIF
คุณลักษณะของดาวเทียม จีพีเอส  FEATURES OF THE SATELLITE       ชื่อ  :  NAVSTAR
บริษัทที่ผลิต  :  ROCKWELL  INTERNATIONAL
น้ำหนัก  :  930  KG.  IN  ORBIT
วงโคจร  :  12  ชั่วโมง /รอบ
ขนาด  :  5.1  M.
ความเร็วในการโคจร  :  4  KM/SEC
สัญญาณที่ส่ง  :  1575.42  MHZ  AND  1227.60  MHZ
เครื่องรับสัญญาณ  :  1783.74  MHZ
นาฬิกา  :  2  CESIUM  AND  2  RUBIDIUM
อายุการใช้งาน  :  7.5 YEAR LATER  MODEL  BLOCKIIR  10  YEARS
องค์ประกอบของระบบดาวเทียม จีพีเอสสามารถแบ่งออกได้เป็น  3  องค์ประกอบ  ได้แก่
1.  ส่วนศูนย์ควบคุมกลาง  (CONTROL  STATION  SEGMENT)  ซึ่งเป็นศูนย์ควบคุมระบบและบัญชาการการทำงานของระบบ  GPS รวมไปถึงการตรวจตราดูความเรียบร้อยของระบบ   ตั้งอยู่ที่ฐานทัพอากาศเมือง  COLORADO  SPRING  สหรัฐอเมริกาและศูนย์ควบคุมกลางประกอบด้วย
– สถานีสังเกตการณ์  (MONITOR  STATION)  จำนวน  5  แห่ง  กระจายอยู่ตามจุดต่างๆ ของโลก  ได้แก่  HAWAII,  KWAJALEIN,ASCENSION ISLAND,  DIEGO GARCIA  และ COLORADO  SPRING
– จานส่งสัญญาณภาคพื้นดิน  (GROUND  ANTENNAS) ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน  3  จุด  ได้แก่ ASCENSION  ISLAND,  DIEGO  GARCIA,  KWAJALEIN
– ศูนย์บัญชาการ  (MASTER  CONTROL  STATION) ตั้งอยู่ฐานทัพอากาศสหรัฐฯ  SCHRIEVER AFB  รัฐ  COLORADO
เมื่อสถานีรับสัญญาณจากดาวเทียมมา  เพื่อปรับแก้ไขข้อมูลวงโคจร  (EPHEMERIS) และข้อมูลเวลา  (CLOCK  CORRECTION) ของดาวเทียมแต่ละดวงแล้วจะทำการส่งข้อมูลวงโคจร(EPHEMERIS)  และข้อมูลเวลา  (CLOCK  DATA)  กลับไปยังดาวเทียม แล้วดาวเทียมก็จะทำการส่งข้อมูลที่ได้รับการแก้ไขแล้วมาพร้อมกับคลื่นวิทยุมายังเครื่องรับ  GPS แสดงสถานีควบคุมระบบดาวเทียม GPS 5 แห่ง
2.  ส่วนอวกาศ  (SPACE  SEGMENT)  โครงสร้างของวงโคจร  (CONSTELLATION)  ในลักษณะนี้ทำให้มีดาวเทียมจำนวน  5-8  ดวง ที่เครื่องรับ  GPS สามารถรับสัญญาณได้ ณ  ตำแหน่งหนึ่งตำแหน่งใดได้ตลอดเวลาและดาวเทียม  GPS  จะมีปีกเป็นแผงเซลพลังงานแสงอาทิตย์  SOLAR  CELL  PANELS โดยปกติจะพยายามหมุนตัวให้สามารถรับพลังงานแสงอาทิตย์ได้มากที่สุด  ดังนั้นตัวดาวเทียมจะมีการหมุนปรับตัวตลอดเวลาโดยให้ปีกเซลพลังงานแสงอาทิตย์ตั้งฉากกับตำแหน่งของดวงอาทิตย์ในตัวดาวเทียมยังบรรจุแบตเตอรี่สำหรับให้พลังงานเมื่อดาวเทียม  GPS  เคลื่อนตัวอยู่ภายในเงาของโลก ตำแหน่งของดาวเทียมตลอดเวลาจะถูกคำนวณให้เครื่องรับหาตำแหน่งของผู้ใช้ที่สามารถรับข้อมูลได้  50  BPS  ต่อเนื่องกัน  วงโคจรของแต่ละดวงต่อระยะเวลา  1  ชั่วโมง  โดยการตั้ง ELEMENT การโคจรที่  15  KEPLERIAN  พร้อมทั้งค่าสัมประสิทธิฮาร์โมนิคเพิ่มขึ้นจากการรบกวนและแก้ไขทุกๆ  4  ชั่วโมง ส่วนอวกาศ  (SPACE  SEGMENT) แสดงการโคจรของดาวเทียม GPS รอบโลก จะประกอบด้วย
– ดาวเทียมทั้งหมด 24 ดวงแต่ละดวงโคจรรอบโลกเป็นเวลา12 ชั่วโมง
– มีความสูงของวงโคจรอยู่ประมาณ 11,000 ไมล์จากพื้นโลก
– ดาวเทียมแต่ละดวงจะมีนาฬิกาอะตอม  (ATOMIC  CLOCK ) ติดตั้งอยู่ถึง 4 เครื่องซึ่งจะให้เวลาที่ถูกต้องมาก
– มีระนาบของวงโคจร  6  ระนาบ  แต่ละระนาบมีดาวเทียม  4  ดวง  และเอียงทำมุมกับเส้นศูนย์สูตร  (EQUATOR) เป็นมุม  55  องศา
3.  ส่วนผู้ใช้งาน  (USER  SEGMENT) ประกอบด้วย 2 ส่วนใหญ่ๆ คือ ส่วนที่เกี่ยวข้อง กับทางทหาร  (MILITARY)  และทางพลเรือน  (CIVILIAN) ซึ่งทางพลเรือนจะได้รับสัญญาณฟรี  แต่ผู้ใช้ต้องรับผิดชอบหาซื้อจานรับ  (ANTENNA)  และเครื่องรับ  (RECEIVER)  ด้วยตนเอง   นโยบายการให้บริการข้อมูล  GPS ของรัฐบาลสหรัฐฯ  มีดังนี้
3.1 PRECISE  POSITIONING  SERVICES  :  PPS
–  ใช้ในการทางทหารเป็นหลัก
–  ข้อมูลจะมีการเข้ารหัส เฉพาะผู้ที่มีเครื่องถอดรหัสจึงจะสามารถใช้งานได้
–  ความถูกต้องของพิกัด  คือ  22  เมตร ในแนวราบ 27.7 เมตรในแนวดิ่ง
–  ความถูกต้องเวลา 200  NANOSECOND (UTC)
3.2 STANDARD  POSITIONING  SERVICES  :  SPS
–  ใช้ในกิจการพลเรือนเป็นหลัก
–  ความถูกต้องลดลงเนื่องจาก SELECTIVE  AVAILABILITY (SA)
–  ความถูกต้องของพิกัด คือ100 เมตรในแนวราบ,156 เมตรในแนวดิ่ง
–  ความถูกต้องเวล 340 NANOSECOND(UTC)
ส่วนประกอบของเครื่องรับสัญญาญาณดาวเทียม จีพีเอส
เครื่องรับสัญญาณดาวเทียม  (RECEIVER)  ประกอบด้วย  3  ส่วนคือ
1.  ตัวเครื่อง  (BODY)
2.  ส่วนให้พลังงาน  (POWER  SUPPLY)
3.  ส่วนเสาอากาศ  (ANTENNA)
ประเภทเครื่องรับสัญญาณ จีพีเอส  TYPE OF RECEIVER GPS
เครื่องรับสัญญาณ  GPS  แบ่งออกได้เป็น  2  กลุ่ม
1.  เครื่องรับแบบเรียงลำดับสัญญาณดาวเทียม ได้แก่
1.1  STARVED-POWER  SINGLE RECEIVERS เครื่องแบบนี้ออกแบบให้พกพาได้และสามารถ ทำงานได้ด้วยถ่านไฟฉายขนาดเล็ก การจำกัดการใช้กระแสไฟโดยให้ปิดการทำงานตัวเองโดยอัตโนมัติ  เมื่อแสดงตำแหน่งครั้งสองครั้งใน  1  นาที  เหมาะสำหรับใช้งานบอกตำแหน่งส่วนตัว ข้อเสีย  คือ  ความถูกต้องของ  GPS  ไม่ดี  และต่อเชื่อมกับอุปกรณ์อื่นไม่ได้  และไม่สามารถใช้วัดหาความเร็วได้
1.2  SINGLE  CHANNEL  RECEIVERS  เป็นเครื่องรับสัญญาณห้องเดียวใช้ทำงานหาระยะจากดาวเทียมทุกดวง  แต่ที่ไม่เหมือนคือเครื่องรับช่องเดียว แบบมาตรฐานไม่จำกัดที่กำลังไฟ  ดังนั้น จึงทำการรับต่อเนื่องได้  มีผลทำให้ความถูกต้องสูงกว่า  และใช้วัดหาความเร็วได้
1.3  FAST-MULTIPLEXING  SINGLE  RECEIVERS  เครื่องรับนี้สามารถเปลี่ยนดาวเทียมได้เร็วกว่ามาก  ข้อดีคือ  สามารถทำการวัดได้ในขณะที่กำลัง รับข้อมูลจากดาวเทียม  ดังนั้นเครื่องทำงานได้อย่างต่อเนื่อง  และการที่มีนาฬิกาไม่เที่ยงจึงมีผลต่อเครื่องประเภทนี้น้อย
1.4  TWO-CHANNEL  SEQUENCING  RECEIVERS  การเพิ่มช่องรับสัญญาณขึ้นอีกหนึ่งช่องช่วยให้เครื่องเพิ่มขีดความสามารถขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
2.  CONTINUOUS  RECEIVERS  ได้แก่  เครื่องรับที่สามารถรับสัญญาณดาวเทียมพร้อมกันได้ตั้งแต่  4  ดวงขึ้นไป  และสามารถแสดงผลค่าตำแหน่งและความเร็วได้ทันทีหรือต้องการ ความถูกต้องสูงนอกจากข้อดีที่ใช้วัดตำแหน่งอย่างต่อเนื่อง
หลักการทำงานของ จีพีเอส  PRINCIPLES OF GPS
หลักการพื้นฐานของ  GPS  เป็นเรื่องง่ายๆ  แต่อุปกรณ์ของเครื่องมือถูกสร้างขึ้นด้วยวิทยาการขั้นสูง  การทำงาน  GPS  คือ
1.  จะอาศัยหลักพื้นฐานของ  GPS  :  SATELLITES  TRIANGULATION หลักการ  :  อาศัยตำแหน่งของดาวเทียมในอวกาศเป็นจุดอ้างอิง แล้ววัดระยะจากดาวเทียม  4  ดวง  และใช้หลักการทางเรขาคณิตในการคำนวณหาตำแหน่งบนพื้นโลก
2.  วัดระยะทางระหว่างเครื่องรับ  GPS  กับดาวเทียม  GPS  โดยการวัดระยะเวลา ที่คลื่นวิทยุใช้ในการเดินทางจาก  ดาวเทียมสู่เครื่องรับใช้เวลาเดินทางของคลื่นวิทยุ
สูตร  :  ระยะทาง  =  ความเร็ว  *  เวลาที่ใช้เดินทาง
คลื่นวิทยุ  :  ความเร็ว  =  186,000  ไมล์ต่อนาที
การวัดระยะเวลาในการเดินทาง  คือ  โดยการเทียบกันของคลื่นสัญญาณที่ดาวเทียมส่งมากับคลื่นสัญญาณที่เครื่องรับ GPS ส่งมาคลื่นที่ใช้ในการส่งจะเป็น  PSEUDO  RANDOM  NOISE  CODE
3.  การวัดระยะเวลาที่คลื่นวิทยุใช้ในการเดินทางของ  GPS  จะต้องใช้นาฬิกาที่แม่นยำมาก  ถ้า  PRN  CODE  จากดาวเทียมมีข้อมูลเวลาที่คลื่นเริ่มออกเดินทางจากดาวเทียมเมื่อคลื่นสัญญาณจากดาวเทียมและคลื่นสัญญาณจากเครื่องรับ  GPS  สมวารกัน  (SYNCHRONIZE) และจะต้องใช้  ATOMIC  CLOCK  ในการวัดเวลา  ส่วนเวลาที่ใช้ในการเดินทางจะสั้นมากประมาณ 0.06  วินาที  คือเวลาของเครื่องรับ  GPS  *  เวลาของดาวเทียม  ส่วนการบอกตำแหน่ง  GPS  ยังเป็นเวลาที่มีความแน่นอนถึง  10  นาโนวินาทีหรือดีกว่า
4.  ต้องรู้ตำแหน่งของดาวเทียม  GPS  ที่แน่นอนในอวกาศ
–  วงโคจรสูงมากประมาณ  11,000  ไมล์
–  วงโคจรอาจคลาดเคลื่อน  (EPHEMERIS  ERRORS)  เนื่องจากแรงโน้มถ่วงของดวงจันทร์และดวงอาทิตย์
–  สถานีควบคุมจะใช้เรดาร์ตรวจสอบการโคจรของดาวเทียม  GPS  ตลอดเวลาแล้วส่งข้อมูลไปปรับแก้ข้อมูลวงโคจรและเวลาของดาวเทียม  เมื่อข้อมูลได้รับการปรับแก้แล้วจะถูกส่งมายังเครื่องรับ GPS
5.  ต้องแก้ไขความคลาดเคลื่อนที่เกิดจากการเดินทางของคลื่นวิทยุมาสู่โลก สาเหตุที่ของความคลาดเคลื่อน  (GPS  ERRORS)  ของค่าพิกัดที่คำนวณได้
–  เกิดจากการเดินทางสู่ชั้นบรรยากาศ  IONOSPHERE  จะมีประจุไฟฟ้า  และชั้น TROPOSPHERE  จะมีทั้งความชื้น อุณหภูมิ ความหนาแน่นที่แปรเปลี่ยนได้ตลอดเวลาใน
–  การสะท้อนของคลื่นสัญญาณไปในหลายทิศทาง  (MULTIPATH  ERROR)  ซึ่งที่ผิวโลกคลื่นสัญญาณต้องกระทบกับวัตถุ  ก่อนถึงเครื่องรับ  GPS  จะทำให้มีการหักเหและสัญญาณจะอ่อน
–  ปัญหาที่เกิดจากดาวเทียม  (CHECK ERROR,  EPHEMERIS  ERROR)  อาจเกิดจากวงโคจรคลาดเคลื่อนเนื่องจากแรงโน้มถ่วงของดวงจันทร์และดวงอาทิตย์หรืออาจจะเกิดจากความคลาดเคลื่อนของนาฬิกาเพียงเล็กน้อยจะทำให้การคำนวณระยะทางผิดพลาดได้มากเนื่องจากดาวเทียมอยู่สูงมาก
–  ความสัมพันธ์ทางเรขาคณิตระหว่างตำแหน่งของดาวเทียมและตำแหน่งของเครื่องรับ GPS  ซึ่งจะคำนวณเป็นค่า  GDOP  =  GEOMETIC  DLUTION  OF  RECISION  ซึ่งเนื่องจากลักษณะการวางตัวของดาวเทียม  และ  GDOP  มีส่วนประกอบคือ
–  อาจจะเกิดจากความผิดพลาดอื่นๆเช่น  ความผิดพลาดของคอมพิวเตอร์  หรือมนุษย์ที่ควบคุมสถานี  1  เมตร  ถึง  100  เมตร  ซึ่งผิดพลาดได้มาก  หรือความผิดพลาดของเครื่องรับ GPS,  SOFTWARE,  HARDWARE,  ผู้ใช้  ซึ่งความผิดพลาดนี้ไม่แน่นอน
ข้อดี จีพีเอส ADVANTAGES GPS
• รู้ทุกเส้นทางที่รถไปมา  รวมถึง  วัน  เวลา  ความเร็ว  ทิศทาง  ระยะทางทั้งหมด
• ใช้ได้ทั้งการคมนาคมทั้งทางบก  ทางน้ำ  หรือในอวกาศ
• ประหยัดรายจ่ายและค่าน้ำมัน  เพิ่มเที่ยวขนส่งงานโดยไม่เพิ่มจำนวนรถ
• ไม่มีค่าใช่จ่ายรายเดือน
• ไม่มีค่าใช้จ่ายอื่นๆอีกเลย  ในการใช้งาน  และสามารถบันทึกข้อมูลได้สูงสุดถึง 13,000 ครั้งต่อวัน  (ซึ่งระบบ REAL-TIME ทำไม่ได้)
• เป็นเครื่องมือช่วยในการตัดสินใจได้ดี  ประโยชน์ที่ได้รับจากระบบติดตามยานพาหนะ  BG-FLEET  MANAGEMENT
ข้อเสียของระบบ  GPS
• เครื่องรับสัญญาณบางประเภทราคาแพง
• รางถ่านบางประเภทอาจมีปัญหา  ถ้านำไปขี่จักรยานอาจจะดับได้ง่ายๆ  แต่สามารถแก้ไขได้โดยการโมรางถ่านนิดหน่อย
• อาจเกิดปัญหาที่เกิดจากดาวเทียม  (CHECK ERROR,  EPHEMERIS ERROR)  อาจเกิดจาก วงโคจรคลาดเคลื่อน  เนื่องจากแรงโน้มถ่วงของดวงจันทร์และ
ดวงอาทิตย์หรืออาจจะเกิดจากความคลาดเคลื่อนของนาฬิกาเพียงเล็กน้อยจะทำให้การคำนวณระยะทางผิดพลาดได้มากเนื่องจากดาวเทียมอยู่สูงมาก
• การต่อเชื่อมกับอุปกรณ์อื่นและความสะดวกบางเครื่องแสดงได้เฉพาะพิกัดภูมิศาสตร์ บางเครื่องไม่สามารถต่อเข้ากับเครื่องมืออื่นหรือคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก  (PC)  ได้  และข้อใหญ่ที่ต้องพิจารณา ความแข็งแรงทนทานถ้าต้องใช้เครื่องทำงานในพื้นที่ทะเล หรือในพื้นที่ป่าเขา การใช้ไฟและความร้อนที่เกิดขึ้นเป็นตัวชี้สำคัญที่จะต้องเอาใจใส่

ประโยชน์ จีพีเอส GPS BENEFITS
ด้วยความสามารถของ  GPS  ทำให้เราสามารถนำข้อมูลตำแหน่งมาใช้ประโยชน์ได้มากมาย  ตัวอย่าง เช่น1. MOBILE  TELECOMMUNICATIONS  เช่น  บอกตำแหน่งของคู่สนทนา  การหาตำแหน่งที่เราอยู่(ในกรณีที่เราหลงทาง)  เป็นต้น
2. การเดินเรือ  เช่น  บอกตำแหน่งของผู้บุกรุกน่านน้ำของประเทศใดๆ  เพื่อที่จะทำการสกัดจับได้ทันท่วงที่  บอกตำแหน่งของสัตว์ที่ เราต้องการในบริเวณนั้นๆได้อย่างสะดวกและตรงตามที่ต้องการเพื่อประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย  เป็นต้น
3. การคมนาคมในอวกาศ  (SPACE  NAVIGATION)  เช่น  การบอกตำแหน่งที่อยู่ของอุกกาบาต  ที่อยู่ในระยะที่เป็นอันตรายต่อโลก เพื่อเป็นการเตรียมพร้อมที่จะรับมือกับอันตรายที่จะเกิดขึ้น  บอกตำแหน่งของ  UFO  หรือวัตถุแปลกปลอมที่จะเข้ามาบุกรุก และทำลายล้างมวลมนุษยชาติ  เป็นต้น
4. การเชื่อมโยงกับระบบการสื่อสาร  (POSITION  AND  TELECOMMUNICATION)  เช่น  บอกตำแหน่งของสิ่งที่เราอยากรู้ทุกอย่างที่อยู่บนโลกนี้โดยผ่านทางระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตหรือผ่านทางโทรศัพท์มือถือซึ่งสามารถใช้ได้ทุกที่ทุกเวลา  เป็นต้น
5. การหาตำแหน่งหรือติดตามยานพาหนะที่เคลื่อนที่  (AUTOMATIC  VEHICLE  LOCATION)  เช่น  บอกตำแหน่งของยี่ห้อ  รุ่น  และสีของรถที่วิ่งอยู่บนถนนได้  เพื่อช่วยในการตามหารถที่ถูกขโมยมาหรือจะตามรถที่มีการกระทำความผิดแล้วหลบหนีการจับกุม  เป็นต้น
6. การสร้างแผนที่  (MAPPING)  เช่น  บอกตำแหน่งของขุมทรัพย์ของโจรสลัด  สร้างแผนที่การจราจรทางอากาศ  การสร้างแผนที่การจราจรทางน้ำสร้างแผนที่การวางไข่ของสัตว์น้ำ  สร้างแผนที่การอพยพของนก  เป็นต้น
7. การวางแผนในการสำรวจเบื้องต้น  (SURVEY)  เช่น  การบอกตำแหน่งของสิ่งที่เราต้องการสำรวจ  เช่น  ทอง  น้ำมันกลางอ่าวไทย
8. สิ่งแวดล้อม  (ENVIRONMENT)  เช่น  บอกตำแหน่งที่เกิดไฟไหม้ป่า  ตำแหน่งที่มีการตัดไม้ทำลายป่า  บอกตำแหน่งของสัตว์ป่าที่หายากและใกล้สูญพันธุ์
9. บอกตำแหน่งของสิ่งของมีค่าที่เราทำหายไปได้  โดยที่เราสมารถระบุลักษณะของสิ่งของสิ่งนั้นได้  ว่าสิ่งของที่ต้องการให้หานั้นมีลักษณะอย่างไร แล้วเครื่องนี้ก็สามารที่จะค้นหาให้เราได้อย่างถูกต้องและตรงกับความต้องการ  แต้ต้องมีระบุสถานที่ที่เราทำของหายได้อย่างถูกต้อง
10. บอกตำแหน่งของสิ่งมีชีวิตหรือสิ่งที่ไม่มีชีวิตที่เราไม่สามารถมองเห็นได้  แต่เราสามารถรับรู้ได้ด้วยความรู้สึก  เช่น  การบอกตำแหน่ง ของวิญญาณหรือที่เราเรียกกันว่า  “ผี” ซึ่งเป็นพลังงานรูปหนึ่ง  เครื่องนี้จะทำหน้าที่บอกตำแหน่งของสิ่งที่เรามองไม่เห็น แล้วเราก็ใช้กล้องหรืออุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์พิสูจน์ว่าผีมีจริงหรือไม่       
สัญชาตฺิดาวเทียม GPS NATION GPS          – NAVSTAR GPS : จากของประเทศอเมริกา มีทั้งหมด 24 ดวง
– GALILEO GPS : ถูกพัฒนาโดยสหภาพยุโรป ร่วมกับประเทศจีน อิสราเอล อินเดีย โมร็อกโก ซาอุดิอาระเบีย เกาหลีใต้ และยูเครน
– GLONASS GPS : (GLOBAL NAVIGATION SATELLITE SYSTEM) พัฒนาโดยรัสเซีย
– BEIDOU GPS : เป็นดาวเทียม GPS พัฒนาโดยประเทศจีน
เครื่องรับสัญญาณ GPS  GPS RECEIVER
ผู้ใช้งานสามารถรับสัญญาณ GPS ได้จากอุปกรณ์หลายๆอย่าง เช่น โทรศัพท์มือถือที่รับสัญญาณ GPS ได้ GPS RECEIVER ต่อกับ COMPUTER,
มือถือ, PNA  GPS NAVIGATOR, GPS ติดรถ, CAR GPS
ความแม่นยำ GPS ACCURACY  LOCATION OF THE GPS
ตัวรับสัญญาณ GPS นั้นจะสามารถระบุตำแหน่งของเราได้แม่นยำหรือไม่ ขึ้นอยู่กับจำนวนดาวเทียม ที่สามารถรับสัญญาณได้ การระบุพิกัดขึ้นต่ำ ต้องการดาวเทียมอย่างน้อย 3 ดวง เพื่อระบุตำแหน่งในแกน X , Y , Z  ให้ได้ตำแหน่งที่ถูกต้อง อุปกรณ์ GPS รับสัญญาณดาวเทียม GPS มาก ความแม่นยำจะสูงมากขึ้นตามลำดับ 
GPS TRACKING คืออะไร               
                GPS TRACKING เป็นระบบติดตาม รถ คน สัตว์ สิ่งของ แสดงข้อมูลการติดตามตลอดเวลา หรือที่เรียกว่า REAL TIME  ประกอบด้วย หน่วยรับข้อมูลจากดาวเทียม GPS ประมวลผลตำแหน่งที่อยู่  ส่งข้อมูลไปยัง SERVER ของผู้ให้บริการ  และแสดงผลผ่านเวปบราวน์เซอร์ ตลอดเวลา 
                GPS TRACKING สามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้หลายวัตถุประสงค์  เช่น ตรวจสอบติดตามการทำงาน ติดตามพฤติกรรมการใช้รถ หรือไว้ตรวจสอบเหตุหากจะเปรียบเทียบอุปกรณ์ของเครื่องบิน เปรียบได้กับ กล่องดำ ซึ่งกล่องดำจะเก็บข้อมูลทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นเวลาที่เครื่องขึ้น เรตการไต่ ระดับความสูง ความเร็วลมความเร็วเครื่อง กล่องดำถูกสร้างมาให้ต้านทานแรงระเบิดได้มาก และกันไฟด้วย คุณภาพ TRACKING กล่องดำ คงแพงเกินกว่าจะนำมาใช้กับรถยนต์ สำหรับรถยนต์ GPS TACKING มี MEMERY ภายใน น่าจะเพียงพอแล้ว GPS TRACKING หากใช้กับรถยนต์ เรียกว่า CAR TRACKING หรือ ระบบติดตามรถ
PROGRAM GPS TRACKING
ระบบติดตามรถ GPS CAR TRACKING จะทำงานร่วมกับ SOFTWARE ที่เรียกว่า GPS TRACKING SYSTEM ซึ่งพัฒนาและออกแบบแตกต่างกันไปตาม บริษัทผู้ให้บริการGPS TRACKING โดยหลักการ SOFTWARE TRACKING จะนำค่าแสดงตำแหน่งจากดาวเทียม GPS มาแสดงผล โดยวิธีการซ้อนทับของข้อมูล OVERLAY ด้วยระบบ GIS ผู้ให้บริการบางรายมีแผนกจัดทำแผนที่และจัดทำแผนที่ด้วยตนเอง บางรายใช้แผนที่ร่วมผู้ให้บริการรายอื่นๆ เช่น GOOGLE MAP API  บางรายก็ให้บริการแผนที่รายละเอียดสูง และเป็นปัจจุบัน หรือ แผนที่ในอนาคต สามารถสั่งบริการพิเศษได้
นอกจากนั้น SOFTWARE GPS TRACKING ยังทำหน้าที่เก็บรวบรวมข้อมูลที่ได้รับจากตัว GPS TRACKING เพื่อให้ผู้ใช้งาน สามารถเข้าไปตรวจสอบตำแหน่งรถหรือยานพหนะ หรือ ตรวจสอบข้อมูลย้อนหลังได้ ตามการให้บริการของผู้ให้บริการ GPS TRACKING SYSTEM แต่ละราย
ประโยชน์ GPS TRACKING /GPS TRACKING ติดตามรถ
– บอกตำแหน่งของรถ ระบุตำแหน่งเป็นแผนที่ เข้าใจง่าย มาตราส่วนมาตรฐาน
– บอกตำแหน่งของรถปัจจุบัน ค้นหาตำแหน่งรถย้อนหลัง สรุปรายงานการเดินทาง
– ติดตามรถยนต์ รถจักรยานยนต์ เมื่อสูญหาย
– ตรวจสอบระดับน้ำมัน หรือระดับอุณหภูมิของรถห้องเย็น
– ตรวจสอบความเร็วในการขับขี่รถ, ระยะทางการการใช้รถในแต่ละวัน และการหยุดรถเป็นเวลานานขณะติดเครื่องอยู่
– กำหนดขอบเขตการใช้รถ  แจ้งเตื่อนเมื่อตัวรถวิ่งออกนอกพื้นที่ที่กำหนด
– สั่งดับเครื่องยนต์ ตัดน้ำมัน หรืออื่นตามความต้องการของผู้ใช้ จากหน้าจอคอมพิวเตอร์ หรือมือถือ
การทำงานของ PROGRAM GPS TRACKING           
GPS RECEIVER ทำหน้าที่ส่งข้อมูลเก็บไว้ที่ SERVER  USER เรียกดูข้อมูลโดยผ่าน โปรแกรมที่เรียกว่า GPS TRACKING SYSTEMSOFTWARE จะทำหน้าที่แสดงผลตำแหน่งของรถตามที่ผู้ใช้ต้องการ
GPS TRACKING SOFTWARE ที่ทำงานบน SERVER หรือที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า FLEET MANAGEMENT SYSTEM  PROGRAM จะออกแบบมาให้ทำงานบนCOMPUTER SERVER ของผู้ให้บริการ ส่วนใหย๋จะวางไว้ ณ INTERNET DATA CENTER (IDC)  CAT หรือ CS ขึ้นอยู่กับ SERVICE ของบริษัท INTERNATIONAL SERVERหรือ INTERNAL SERVICE
SOFTWARE ประเภทนี้จะมีข้อดีตรงที่ ทำงานบน SERVER ที่วางไว้กับ IDC มีความเสถียรในการเชื่อมต่อ INTERNET หมดปัญหาไฟฟ้าตกหรือดับ PROGRAM หรือ SERVER สมารถออกแบบให้ติดต่อกับ GPS RECEIVER สมารถสั่งงานผ่าน SERVER และแก้ไขปัญหา ด้วย ระบบ REMOTE SERVICE ONLINE ด้วยเหตุผลดังกล่าว PROGRAM GPS TRACKING SERVER ผู้ใช้สามารถเรียกดูข้อมูลได้จากเครื่อง COMPUTER หรือมือถือ ทุกเครื่องที่เชื่อมต่อ INTERNET ได้
สำหรับท่านที่ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม  เกี่ยวกับ GOALGPS TRACKINGGOALGPS SOFTWARE, และ GOAL GPS MOBILE SOFT  ท่านสามารถกรอกข้อมูล ลงในแบบฟอร์ม ติดต่อเรา   CONTACT US  บริษัท บีเอ็มซี 1999 จำกัด  จะติดติดกลับโดยเร็ว หรือท่านอาจเข้าไปศึกษาข้อมูลเบื้องต้น PRODUCT GOAL GPS   และสามารถศึกษาข้อมูลคำถาม ที่เคยถูกถามไว้แล้วจาก WEBBOARD เรา และสามารถทดลองใช้ GOAL GPS ทุกรุ่นได้ที่ GOAL GPS TRACKING 
ผลิตภัณฑ์แนะนำจาก GOAL GPS TRACKING : GOAL GPS TRACKING MOBILE APP โปรแกรม GPS TRACKING ออกแบบสำหรับโทรศัพท์มือถือโดยเฉพาะรองรับโทรศัพท์มือถือทุกระบบ IPHONE, IPAD, TABLET, BLACKBERY และอื่นๆ  ทดลองใช้ GPS TRACKING มือถือ ได้ที่ เวปผู้ให้บริการ GPS  ผู้จำหน่าย ระบบจะส่ง USERNAME และ PASSWORD ให้ท่านทาง EMAIL คะ ขอให้มีความสุขกับ GOAL GPS TRACKING ครับ
             GPS TK102  APP TK102     GPS T2    APP GPS T2      GPS T2.1 
APP GPS T2.1   GPS TR10     GPS TR20    GPS
TAG: GPS, จีพีเอส, ติดตามรถ, กันขโมย, GPS TRACKER, GPS TRACKING, GPS ติดตามรถ, GPS กันขโมย

Pin It on Pinterest